ติดต่อโฆษณาได้ที่ 061-939-1959 ; 02-066-9495 title="ติดตั้งแก๊สรถยนต์ ซ่อมระบบแก๊ส ซ่อมรถยนต์ทุกชนิด ด้วยช่างที่เก่ง" target="_blank">

ประวัติ ร.ต.อ.หญิงวฤนธร ตังตฤษณกุล  ตำแหน่ง ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดนนทบุรี ก่อนดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดนนทบุรี เป็นรองผู้อำนวยการสำนักพัฒนาบุคลากร สถาบันพัฒนาการเมืองและการเลือกตั้ง สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง เริ่มมารับราชการครั้งแรกที่สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง ตั้งแต่เดือน ธันวาคม 2547 รวมเวลา 15 ปี 6 เดือน ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักงาน คณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดนนทบุรี เป็นจังหวัดแรก

นโยบายในการบริหารงานของสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำ จังหวัดนนทบุรี คือ

1.การนำยุทธศาสตร์ของสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งมาใช้ในการดำเนินการบริหารสำนักงาน และการบริหารจัดการจัดการเลือกตั้งให้เป็นไปตามวิสัยทัศน์ที่กำหนดไว้ โดยบริหารจัดการเลือกตั้งให้เป็นที่ยอมรับ และกระบวนการเลือกตั้งจะเป็นไปอย่างมืออาชีพ ในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข โดยจะสร้างความเข้มแข็งของกระบวนการบริหารจัดเลือกตั้งของสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดนนทบุรี ให้ได้คนดีมาปกครองบ้านเมือง

2.การสร้างความเป็นผู้นำในด้านการบริหารจัดการการเลือกตั้ง เนื่องจากภารกิจในการบริหารจัดการการเลือกตั้งให้เป็นไปด้วยความสุจริต โปร่งใส และเที่ยงธรรมถือเป็นภารกิจหลักของสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง ดังนั้น เพื่อให้ประชาชนเกิดการยอมรับและเชื่อมั่น โดยการพัฒนาบุคลากรของสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดนนทบุรี ให้มีการปฏิบัติงานด้วยการเป็นมืออาชีพอย่างแท้จริง โดยใช้กลยุทธ์ที่ผ่านการฝึกอบรมที่เข้มข้นทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติจากสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง โดยบุคลากรที่ผ่านการอบรม จะมีการฝึกฝนการเป็นวิทยากรให้ความรู้ ความเข้าใจในกระบวนการจัดการเลือกตั้งเป็นอย่างดี พร้อมทั้งมีคู่มือในการ ปฏิบัติงานที่ชัดเจน มีสื่อที่ใช้ในการประกอบการบรรยาย เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมสามารถปฏิบัติหน้าที่ ในกระบวนการเลือกตั้ง ได้เรียนรู้อย่างครบถ้วนกระบวนการและสามารถปฏิบัติหน้าที่อย่างมืออาชีพ เพื่อให้เกิดประสิทธิผลยิ่งขึ้น

3.การนำเอาเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้ในการปฏิบัติงาน เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานสามารถ เข้าถึงข้อมูลได้อย่างรวดเร็วทุกที่ ทุกเวลา โดยมีการสร้างกลุ่ม Line Official Account เพื่อเป็นช่องทาง ให้ผู้เป็นบุคลากรของสำนักงาน และเครือข่ายทุกภาคส่วนได้มีส่วนร่วมและสามารถสอบถามปัญหา ข้อสงสัยการปฏิบัติงานได้ตลอดเวลา

4.สร้างความเข้มแข็งให้ทีมงาน โดยสร้างแรงบันดาลใจในการทำงานให้บุคลากรของสำนักงานมีความรักความสามัคคี มีความเอื้ออาทร มีความเสียสละ มีพลัง และพร้อมที่จะก้าวเดินไปด้วยกัน เพื่อมุ่งไปสู่เป้าหมายที่ได้กำหนดไว้ร่วมกัน โดยได้กำกับ ดูแล บุคลากรของสำนักงานด้วยความเอาใจใส่ ให้เกียรติพนักงานอย่างจริงใจ และปฏิบัติกับพนักงานอย่างเท่าเทียมกัน ตลอดจนเปิดโอกาสให้พนักงานได้แสดงความคิดเห็น และรับฟังความคิดเห็นของบุคลากร แล้วนำมาประกอบการตัดสินใจในการดำเนินกิจกรรมของสำนักงาน เพื่อให้งานสำเร็จตามเบ้าหมายที่กำหนดไว้

5.สร้างเครือข่ายทุกภาคส่วนให้มีความเข้มแข็ง ในการปฏิบัติภารกิจต่าง ๆ ของสำนักงาน ไม่สามารถดำเนินการได้ภายใต้บุคลากรของสำนักงานที่มีอัตรากำลังไม่มากนัก ดังนั้น ภาคีเครือข่ายต่าง ๆ ของสำนักงาน จึงถือว่ามีความสำคัญอย่างยิ่งในการสนับสนุนภารกิจของสำนักงาน โดยดำเนินการตามนโยบายของสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง ที่ได้กำหนดนโยบายร่วมกันของภาคีเครือข่ายต่างๆ เพื่อให้เกิดการบูรณาการในการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ให้บรรลุวัตถุประสงค์ และเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งจะเน้นรักษาเครือข่ายเดิมให้คงอยู่ตลอดไป และในขณะเดียวกันก็จะแสวงหาเครือข่ายใหม่ให้เพิ่มมากขึ้น เพื่อร่วมกันขับเคลื่อนในกระบวนการจัดการเลือกตั้งให้เป็นไป อย่างสุจริต โปร่งใส และเที่ยงธรรม ตลอดจนร่วมกันรณรงค์ให้ประชาชนมีส่วนร่วมในกระบวนการจัดเลือกตั้งเพื่อได้คนดีมาทำหน้าที่แทนของประชาชนนั่นเอง

6.การทำงานเชิงรุก โดยมีการพัฒนาตนเองอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งที่ผ่านมาได้เข้ารับการศึกษาอบรมในหลักสูตรต่างๆ ของหน่วยงานสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง และหน่วยงานภายนอกทั้งนี้ ได้นำความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์ ที่ได้รับมาพัฒนาบุคลากรของสำนักงานตลอดจนส่งเสริมให้บุคลากรเข้ารับการศึกษาอบรม เพื่อนำความรู้ ประสบการณ์จากการฝึกอบรมมาใช้ในการดำเนินกิจกรรมของสำนักงาน เสริมสร้างให้พนักงานมีการทำงานด้วยจิตมุ่งบริการ การสร้างสัมพันธภาพที่ดี กับประชาชนผู้รับบริการ โดยมีการสื่อสารที่ใช้ถ้อยคำสุภาพ ให้เกียรติแก่ผู้ร่วมงาน เครือข่ายทุกภาคส่วน ตลอดจนผู้ที่ติดต่อประสานงานกับสำนักงาน เพื่อให้เกิดความร่วมมือในการปฏิบัติภารกิจของสำนักงานให้สำเร็จตามป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล การสร้างสัมพันธภาพที่ดีในการสื่อสารกับเครือข่าย โดยเน้นย้ำให้บุคลากรของ

7.การสร้างสำนักงาน มีการดำเนินการค้านการประชาสัมพันธ์เชิงรุก ซึ่งจะเห็นว่าในปัจจุบันเป็นยุคโลกาภิวัตน์ การเผยแพข้อมูลข่าวสารของหน่วยงานต่าง ๆ ได้ใช้ระบบการสื่อสารผ่านทาง Social network ทำให้การเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ ไปถึงกลุ่มเป้าหมายได้อย่างรวดเร็ว ดังนั้น จึงไต้เน้นหนักการประชาสัมพันธ์องค์กรทางสื่อสารมวลชนทุกช่องทาง เพื่อเผยแพร่การดำเนินกิจกรรม ตลอดจนผลงานของสำนักงานให้เป็นที่ประจักษ์ และเพื่อสร้างความเข้าใจอันดีให้แก่ภาคีเครือข่าย หน่วยงาน ตลอดจนประชาชนทั่วไป อีกทั้งจะเน้นการเสริมสร้างและรักษาสัมพันธภาพอันดีระหว่างสำนักงานกับสื่อมวลชนทุกแขนง ให้มีความร่วมมือประสานงานกันอย่างใกล้ชิดตลอดไป

8.การประพฤติปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีให้แก่พนักงาน ด้วยการเสริมสร้างความเชื่อมั่นให้กับพนักงาน โดยการยึดมั่นในความซื่อสัตย์ สุจริต และมีความสำนึกรับผิดชอบของตนอยู่ตลอดเวลา โดยปฏิบัติต่อพนักงานทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน เพื่อให้พนักงานเกิดความศรัทธาและเกิดความเชื่อถือ อีกทั้งได้ยึดหลักธรรมาภิบาล และน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการบริหารงาน และในชีวิตประจำวัน และเสริมสร้างให้พนักงานทุกคนได้ยึดหลักดังกล่าวในการปฏิบัติงานต่อไป

สำหรับการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนนทบุรี เมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2562 ซึ่งก็มีปัญหา อุปสรรค ที่เกิดขึ้นพอมีอยู่บ้าง แต่ก็สามารถแก้ไขปัญหานั้นได้เป็นอย่างดี จะเห็นได้ว่า เรื่องการการปฏิบัติงานในที่เลือกตั้งมีความแตกต่างจากเดิมอยู่มาก เช่น บุคลากรในที่เลือกตั้งน้อยกว่าเดิม หรือที่เราเรียกว่า กปน. นั่นเอง แต่มีภารกิจงานเพิ่มขึ้น และต้องปฏิบัติงานเป็นเวลาติดต่อกันนานกว่าเดิม อีกทั้งส่วนใหญ่ปฏิบัติหน้าที่ภายใต้สภาพอากาศที่ร้อนอบอ้าว หน่วยเลือกตั้งบางหน่วยไม่ได้อยู่ในตัวอาคาร บางหน่วยเป็นเต็นท์ ประกอบกับประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ได้เดินทางมาใช้สิทธิเลือกตั้งในระยะเวลาใกล้เคียงกัน ทำให้เกิดความแออัดในหน่วยเลือกตั้งนั้น ๆแต่คณะกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้ง ซึ่งถือว่าเป็นกลไกหลักสำคัญของการเลือกตั้ง ทุกคนทำงานมากกว่า 12 ชั่วโมง ทำหน้าที่เสมือนมดงาน ทำให้ในภาพรวมสามารถปฏิบัติภารกิจในที่เลือกตั้งได้อย่างเรียบร้อย ด้วยความมุ่งมั่น ขยันขันแข็ง ทุ่มเท อดทน เสียสละ สามารถฝาฟันอุปสรรคความยากลำบากและความเหนื่อยล้า ซึ่งจากการสำรวจความเชื่อมั่นและความพึงพอใจของประชาชนตามโครงการวิจัยและประเมินผลการจัดการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการทั่วไป พ.ศ.2562 ของสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง โดยทีมงานวิจัยจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พบว่า ประชาชนส่วนมากมีความพึงพอใจต่อการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ในหน่วยเลือกตั้ง

ข้อดีที่นำมาใช้ในการเลือกตั้ง สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดนนทบุรี ได้ดำเนินการสร้างกลุ่ม ne social network ของผู้สมัครรับเลือกตั้งและผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อสื่อสาร เผยแพร่ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้ง ตลอดจนกฎหมายระเบียบ ข้อควรปฏิบัติข้อห้ามปฏิบัติในการหาเสียงเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร อีกทั้ง หากมีปัญหา หรือข้อคำถามที่ต้องการทราบ ก็ส่งมาทาง Line social network โดยสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดนนทบุรี ได้มีพนักงานตอบข้อคำถามในทุกๆ เรื่อง ที่ต้องการทราบ ทำให้ลดปัญหาการร้องเรียน ร้องคัดค้านการเลือกตั้งครั้งนี้ได้เป็นอย่างดี

ซึ่งในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่ผ่านมา เราประสบความสำเร็จจาการให้บริการด้านข้อมูลการเลือกตั้งและการอำนวยความสะดวกแก่ประชาชน ผ่าน Application Smart Vote มาแล้ว ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งในการจัดการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่ผ่านมา ถือว่าเราประสบความสำเร็จจากการให้บริการด้านข้อมูลการเลือกตั้งและการอำนวยความสะดวกแก่ประชาชนผ่านมา จึงมีความเชื่อว่าเราจะทำสำเร็จในเรื่องอื่นต่อไปได้อีกอย่างแน่นอน

การเลือกตั้งที่ผ่านมา ปรากฏว่า องค์กรเอกชนไม่ได้รับการพิจารณาให้เข้ามาตรวจสอบการเลือกตั้ง รวมกับสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดนนทบุรี เนื่องจากพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ.2560 มาตรา 22(5) บัญญัติให้คณะกรรมการมีหน้าที่และอำนาจส่งเสริมสนับสนุนให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการตรวจสอบการเลือกตั้ง โดยมิได้บัญญัติให้คณะกรรมการการเลือกตั้งมีอำนาจและหน้าที่ีสนับสนุนองค์การเอกชน ช่วยเหลือในการตรวจสอบการเลือกตั้ง เหมือนดังเช่นที่เคยบัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ.2550 มาตรา 10(14)ฉบับที่ผ่านมา จึงเห็นได้ว่าตามกฎหมายดังกล่าวข้างต้น ได้กำหนดให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการตรวจสอบการเลือกตั้งโดยไม่ได้ให้องค์กรเอกชนเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องกับการตรวจสอบการเลือกตั้ง ซึ่งแตกต่างกับ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ.2550 มาตรา 10(14) ที่ให้คณะกรรมการการเลือกตั้งมีอำนาจและหน้าที่ส่งเสริมสนับสนุนหรือประสานงานกับหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น หรือสนับสนุนองค์การเอกชนในการให้การศึกษาแก่ประชาชนเกี่ยวกับการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข การส่งเสริมการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน และการช่วยเหลือในการตรวจสอบการเลือกตั้ง และมีองค์กรเอกชน รับตรวจสอบการเลือกตั้ง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) การเลือกสมาชิกวุฒิสภา(ส.ว.) ตั้งแต่ปี พ.ศ.2549 โดยการได้รับการแต่งตั้งจากสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง ผ่านสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัด ในปัจจุบัน องค์กรเอกชนดังกล่าว ชื่อ “ชมรมส่งเสริมประชาธิปไตยจังหวัดนนทบุรี” โดยมี ดร.จำลอง มาเที่ยง อดีตประรากรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดนนทบุรี เป็นประธานชมรมฯ แต่การเลือกตั้งครั้งที่ผ่านมา (ไม่ได้รับการพิจารณาให้ตรวจสอบการเลือกตั้ง) ขณะนี้ ชมรมส่งเสริมประชาธิปไตย ก็ยังมีพันธะผูกพันกับสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง

สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดนนทบุรี ทราบอยู่แล้วว่า มีองค์กรเอกชนชื่อ “ชมรมส่งเสริมประชาธิปไตยจังหวัดนนทบุรี” ซึ่งได้รับการรับรองตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ.2550 มาตรา 25 “องค์การเอกชนใดที่มีความประสงค์จะช่วยเหลือการปฏิบัติงานของคณะกรรมการการเลือกตั้งในการตรวจสอบการเลือกตั้งหรือการดำเนินการตามมาตรา 10(14) ให้ยื่นคำขอต่อคณะกรรมการการเลือกตั้ง ถ้าคณะกรรมการการเลือกตั้งตรวจสอบแล้วเห็นว่าองค์การเอกชนนั้นมีความเป็นกลางทางการเมืองและมีความสามารถที่จะปฏิบัติงานดังกล่าวได้ ให้คณะกรรมการการเลือกตั้งมีอำนาจรับรององค์การเอกชนนั้น” สำหรับการตรวจสอบการเลือกตั้งตามกฎหมายใหม่นี้ ให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ.2560 มาตรา 22(5) ให้คณะกรรมการมีหน้าที่และอำนาจส่งเสริมสนับสนุนให้หน่วยงานของรัฐ สถาบันการศึกษา และองค์กรเอกชน ในการสร้างความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องให้แก่ประชาชนเกี่ยวกับการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน หรือให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการตรวจสอบการเลือกตั้งและความรู้ที่ถูกต้องเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์

วิธีการและเงื่อนไขที่คณะกรรมการกำหนด และจะมีการเลือกตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นประมาณเดือนตุลาคม2563 ท่านได้ทราบการเคลื่อนไหวจากสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งสั่งการให้สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัด ให้เตรียมดำเนินการคือ ภายหลังจากที่พระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ.2562 และระเบียบคณะกรรมการการเลือกตั้งว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ.2562 ใช้บังคับ การเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นและผู้บริหารท้องถิ่นขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นประเภทใด และครั้งแรกเมื่อ มีเงื่อนไข คือ เมื่อคณะรัฐมนตรี เห็นสมควรให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นใด ให้แจ้งคณะกรรมการการเลือกตั้งทราบ และเมื่อคณะกรรมการการเลือกตั้งรับทราบต้องประกาศกำหนดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้น

สำหรับข่าวสาร ที่ได้รับทราบจากทางสื่อมวลชนนั้น ว่าจะมีการเลือกตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเดือนตุลาคม 2563 การดำเนินการของสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งก็ต้องรอให้คณะรัฐมนตรีเห็นสมควรให้มีการเลือกตั้ง และแจ้งให้คณะกรรมการการเลือกตั้งรับทราบเพื่อมีประกาศให้การเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้นต่อไป

ในส่วนของการเตรียมการเลือกตั้งตามระเบียบคณะกรรมการการเลือกตั้งว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ.2562 สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง ได้สั่งการให้ดำเนินการ ดังนี้

การแบ่งเขตเลือกตั้งสำหรับการเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรีสมาชิกสภาเทศบาลนคร สมาชิกสภาเทศบาลเมือง สมาชิกสภาเทศบาลตำบล ซึ่งได้ดำเนินการแบ่งเขตเลือกตั้งเรียบร้อยแล้ว และอยู่ระหว่างคณะกรรมการการเลือกตั้งประกาศแบ่งเขตเลือกตั้งต่อไป

การสรรหาและแต่งตั้งคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอยู่ระหว่างคณะกรรมการการเลือกตั้งมีมติประกาศแต่งตั้งคณะกรรการการเลือกตั้งประจำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น การกำหนดจำนวนเงินค่าใช้จ่ายในการเลือกตั้งของผู้สมัครสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น เนื่องจากการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เป็นการเลือกตั้งทั่วไป ที่ผ่านมากระทรวงมหาดไทย กระทรวงกลาโหม และสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง ได้ใช้ภาคราชการเข้าตรวจสอบการเลือกตั้ง แทนภาคเอกชน ซึ่งพิจารณาแล้ว ไม่เป็นการส่งเสริมประชาธิปไตย และไม่มอบหมายให้ประชาชนเข้ามาสังเกตการณ์ ความโปร่งใส ความยุติธรรม

เนื่องจากพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ.2560 มาตรา 22(5) บัญญัติให้คณะกรรมการมีหน้าที่และอำนาจส่งเสริมสนับสนุนให้ประชาชนมีส่วนร่วม ในการตรวจสอบการเลือกตั้ง โดยมิได้บัญญัติให้คณะกรรมการการเลือกตั้งมีอำนาจและหน้าที่สนับสนุนองค์การเอกชน ช่วยเหลือในการตรวจสอบการเลือกตั้ง เหมือนดังเช่นที่เคยบัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ.2550 มาตรา 10(14) ฉบับที่ผ่านมา

สำหรับการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการเลือกตั้งทั่วไป เมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2562 หน่วยงานดังกล่าวข้างต้น ไม่ได้มอบหมายให้หน่วยราชการเข้ามาตรวจสอบการเลือกตั้ง แต่ทั้งนี้ การดำเนินการของหน่วยราชการที่เกี่ยวกับการจัดการเลือกตั้ง ได้ปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายกำหนดไว้

นายพลพิทักษ์ ชาญเลขา หนังสือพิมพ์ ประชาไทนิวส์ออนไลน์

ติดต่อโฆษณาที่ 061-939-1959