ติดต่อโฆษณาได้ที่ 061-939-1959 ; 02-066-9495 title="ติดตั้งแก๊สรถยนต์ ซ่อมระบบแก๊ส ซ่อมรถยนต์ทุกชนิด ด้วยช่างที่เก่ง" target="_blank">

สมเด็จพระพุฒาจารย์ โต สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) นับเป็นพระเกจิเถราจารย์ผู้มีปฏิปทาจริยาวัตรน่าเลื่อมใส เป็นที่เคารพนับถือทั่วไปมาตั้งแต่ท่านยังมีชีวิตอยู่ ตั้งแต่พระมหากษัตริย์จนถึงสามัญชน และนอกจากจริยาวัตรด้านความสมถะอันโดดเด่นของท่านแล้ว ท่านยังทรงคุณทางด้านวิชชาคาถาอาคม เมตตามหานิยม โเฉพอย่างยิ่งวัตถุมงคล “พระสมเด็จ” ที่ท่านได้สร้างขึ้นเพื่อเป็นพุทธบูชา ได้ถูกจัดเข้าในพระเครื่องเบญจภาคี หรือสุดยอดของพระเครื่องวัตถุมงคล 1 ใน 5 ของประเทศไทย และมีราคาซื้อขายในปัจจุบันต่อองค์เป็นราคานับล้านบาท ด้วยปฏิปทาจริยาวัตรและคุณวิเศษอัศจรรย์ของท่าน ทำให้พุทธศาสนิกชนชาวไทยเคารพนับถือว่าท่านเป็นอมเถราจารย์รูปหนึ่งของเมืองไทย และมีผู้นับถือจำนวนมากในปัจจุบัน

สมเด็จพระพุฒาจารย์ เกิดในสมัยรัชกาลที่ 1 หลังสร้างกรุงรัตนโกสินทร์ได้แล้ว 7 ปี เมื่อวันพฤหัสบดี เดือน5 ขึ้น 12 ค่ำ ปีวอก จุลศักราช 1150 เวลาพระบิณฑบาต ตรงกับวันที่ 17 เมษายน พ.ศ 2331 ณ บ้านไก่จ้น (บ้านท่าหลวง) อำเภอท่าเรือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา มารดาบิดาของท่านเป็นใครไม่ทราบแน่ชัด มีผู้กล่าวประวัติของท่านในส่วนนี้แตกต่างกันไปหลายสำนวน เช่น ฉบับของพระยาทิพโกษา กล่าวว่า มารดาของท่านชื่อนางงุด บุตรของนายผลกับนางลา ชาวนาเมืองกำแพงเพชร หรือฉบับของพระครูกัลยาณานุกูล (เฮง อิฏฐาจาโร) กล่าวว่า มารดาของท่านชื่อเกตุ คนท่าอิฐ อำเภอบางโพ อย่างไรก็ดีมารดาของท่านนั้นเป็นชาวเมืองเหนือ (คำเรียกในสมัยอยุธยา) เพราะทุกแหล่งอ้างอิงกล่าวตรงกันว่ามารดาของท่านเป็นชาวเมืองเหนือแต่ได้ลงมาทำมาหากินแถบภาคกลางในช่วงหลัง สำหรับบิดาของท่านนั้น สำนวนของพระยาทิพโกษา กล่าวว่าท่านเป็นโอรสนอกเศวตฉัตรของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ครั้งทรงพระยศเป็น เจ้าพระยาจักรี ส่วนฉบับของพระครูกัลยาณานุกูล และฉบับของตรียัมปวายกล่าวว่าท่านเป็นพระโอรสของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย

และแม้ในสำนวนของตรียัมปวายจะมีข้อสันนิษฐานเพื่อยืนยันหลายข้อ แต่อย่างไรก็ตาม ประวัติทั้งสองสำนวนกล่าวตรงกันเพียงว่า ข้อสันนิษฐานว่าด้วยบิดาของท่านนั้นเป็นเพียงเรื่องเล่าซึ่งชาวบ้านในสมัยนั้นกล่าวและเชื่อกันโดยทั่วไป   บรรพชาและอุปสมบท  เมื่อถึงวัยพอสมควรแล้ว ได้บรรพชาเป็นสามเณรในพระพุทธศาสนาเมื่อ พ.ศ. 2343 ต่อมาปรากฏว่าพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชโปรดและเมตตาสามเณรโตเป็นอย่างยิ่ง ครั้นอายุครบอุปสมบทปี พ.ศ. 2350 จีงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้อุปสมบทเป็นนาคหลวงที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม มี สมเด็จพระอริยวงษญาณ สมเด็จพระสังฆราช สุก ญาณสังวร เป็น พระอุปัชฌาย์ มีฉายานามในพุทธศาสนาว่า “พฺรหฺมรํสี ต่อมา พระบาทสมเด้จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ได้โปรดเกล้าฯ ให้พระภิกษุโตรับไว้ในพระบรมราชูปถัมภ์ 

ประวัติการสร้างพระสมเด็จสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) การสร้างพระสมเด็จแบ่งออกเป็น 3 ยุค ดังนี้ยุคต้น สร้างในสมัยรัชกาลที่ 3 ตั้งแต่ พ.ศ. 2368 –2390 (ครองราชย์ พ.ศ. 2367 – 2394)ยุคกลาง สร้างในสมัยรัชกาลที่ 4 ตั้งแต่ พ.ศ. 2399 –2411 (ครองราชย์ พ.ศ. 2394 – 2411)ยุคปลาย สร้างในสมัยรัชกาลที่ 5 ตั้งแต่ พ.ศ. 2412 –2414 (ครองราชย์ พ.ศ. 2411 – 2453)มีรายละเอียดการสร้างพระพิมพ์ หรือพระสมเด็จ ดังนี้ยุคต้น ในรัชกาชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 3 )1 ปี พ.ศ. 2348 สร้างที่ระลึกงานฉลองสมณศักดิ์ เป็น “พระครูโต”2. ปี พ.ศ. 2378 สร้างเป็นที่ระลึกในการเลื่อนสมณศักดิ์ เป็นที่ “พระปริยัติธรรม”3. ปี พ.ศ. 2379 สร้างเป็นที่ระลึกให้แก่ผู้บริจาคเงินสร้างพระพุทธไสยาสน์4. ปี พ.ศ. 2381 สร้างเป็นที่ระลึกให้งานทำบุญครบ 51 ปี ขณะดำรงตำแหน่งสมณศักดิ์ พระปริยัติธรรม5. ปี พ.ศ. 2386 สร้างเป็นที่ระลึกในงานเลื่อนสมณศักดิ์ เป็นที่ “พระราชปัญญาภรณ์”6. ปี พ.ศ. 2387 สร้างเป็นที่ระลึกให้แก่ผู้บริจาคเงินบำรุงวัดระฆัง7. ปี พ.ศ. 2390 สร้างเป็นที่ระลึกในงานทำบุญครบรอบ 60 ปี เป็นที่ “พระเทพกวีศรีวิสุทธินายก”ซึ่งการสร้างแต่ละครั้งมีจำนวนไม่มาก เป็นพิมพ์ใหญ่ และหลายพิมพ์ทรง เป็นพระเนื้อขาวแก่ปูน พิมพ์ใหญ่ไม่มีเส้นกรอบกระจก หรือเส้นบังคับพิมพ์ยุคกลาง ในสมัยรัชกาลสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4)1. ปี พ.ศ. 2399 สร้างให้โยมพระบิดามารดา เพื่อแทนคุณ ขณะดำรงสมณศักดิ์ เป็นที่ “พระธรรมกิติโสภณ” เป็นพิมพ์ปรกโพธิ์2. ปี พ.ศ. 2399 สร้างเป็นที่ระลึกในงานสร้างพระบูชา นามว่า “พระหาพุธพิม”3. ปี พ.ศ. 2407 สร้างเป็นที่ระลึกในงานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นที่ “สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต)พรหมรังษี” เป็นพระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่4. ปี พ.ศ. 2409 สร้างในขณะดำรงสมณศักดิ์ เป็นที่ “พระสมเด็จพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังษี” เริ่มสร้างที่จำนวน 84,000 องค์ตามเจตนารมณ์ เพื่อสืบทอดพระพุทธศาสนา โดยแม่พิมพ์ของช่างทองหลวง “หลวงวิจารณ์เจียรนัย”5. ปี พ.ศ. 2411 สร้างในขณะดำรงสมณศักดิ์ เป็นที่ สมเด็จพระพุฒาจารย์โต เป็นพิมพ์ใหญ่อกวียุคปลาย ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5)1. ปี พ.ศ. 2412 สร้างพระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่ แม่พิมพ์หลวงวิจารณ์เจียรนัย2. ปี พ.ศ. 2414 สร้างพระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่ (ลงรักปิดทอง) สร้างถวายแก่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

พระสมเด็จวัดระฆัง พิมพ์ใหญ่ ยุคแรก กรุพระเจดีย์สามองค์วัดระฆัง ( ยุคต้น หรือ ยุคแรก ) สร้างในสมัยรัชกาลที่ 3 ตั้งแต่ พ.ศ. 2368 –2390 ( ต้นแบบพิมพ์ทรงจำลองมาจากประประธานยิ้มรับฟ้าวัดระฆัง )สร้างและปลุกเสกโดยท่านเจ้าประคุณสมเด็จพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี)ยุคต้น สร้างในสมัยรัชกาลที่ 3 ตั้งแต่ พ.ศ. 2368 –2390


พระสมเด็จวัดระฆัง พิมพ์ปรกโพธิ์  ยุคแรก กรุพระเจดีย์สามองค์วัดระฆัง ( ยุคต้น หรือ ยุคแรก ) สร้างในสมัยรัชกาลที่ 3 ตั้งแต่ พ.ศ. 2368 –2390 (ต้นแบบพิมพ์ทรงจำลองมาจากประประธานยิ้มรับฟ้าวัดระฆัง และสมเด็จอรหัง ของสมเด็จอาจารย์ ของท่าน)สร้างและปลุกเสกโดยท่านเจ้าประคุณสมเด็จพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี)ยุคต้น สร้างในสมัยรัชกาลที่ 3 ตั้งแต่ พ.ศ. 2368 –2390

พระสมเด็จวัดระฆัง พิมพ์ไสยาสน์  ยุคแรก กรุพระเจดีย์สามองค์วัดระฆัง   ( ยุคต้น หรือ ยุคแรก )  สร้างในสมัยรัชกาลที่ 3 ตั้งแต่ พ.ศ. 2368 –2390 (จำลองมาจากปางไสยาสน์วัดสะตือ จ.อยุธยา )สร้างและปลุกเสกโดย ท่านเจ้าประคุณสมเด็จพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) ยุคต้น สร้างในสมัยรัชกาลที่ 3 ตั้งแต่ พ.ศ. 2368 –2390 

พระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ตุ๊กตา ยุคแรก กรุพระเจดีย์สามองค์วัดระฆัง ( ยุคต้น หรือ ยุคแรก )สร้างในสมัยรัชกาลที่ 3 ตั้งแต่ พ.ศ. 2368 –2390 (ต้นแบบพิมพ์ทรงจากพระวัดพลับ ที่สร้างโดยสมเด็จอาจาย์ของท่าน  สมเด็จพระสังฆราช สุก ไก่เถื่อน) บรรจุในพระเจดีย์ สามองค์ข้างพระอุโบสถพระประธานยิ้มรับฟ้าวัดระฆัง สร้างและปลุกเสกโดย ท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี )

การแตกกรุ จากการลักลอบขุดเจาะเช่นเดียวกันกับ พระสมเด็จบางขุนพรหมกรุเก่า และ พระสมเด็จบางขุนพรหมกรุพระเจดีย์เล็ก(เจดีย์บรรจุอัฐิ ) ซึ่งทางวัดไม่ได้พระใว้เลย เว้นเสียแต่กรุพระเจดีย์องค์ใหญ่บางขุนพรหม ที่ยังหลงเหลือพระสมเด็จในครั้งเปิดกรุอย่างเป็นทางการเมื่อปี 2500 ซึ่งเหลือพระในกรุประมาณไม่เกิน 3000 องค์ จาก 84000 องค์สำหรับกรุพระเจดีย์ใหญ่บางขุนพรหม อย่างไรก็ตามพระพิมพ์ทั้งสามกรุนี้ ถูกลักลอบขุดเจาะในสมัยสงครามโลก เนื่องจากชาวบ้านเกรงกลัวภัยสงครามจึงต่างพากันแสวงหาสิ่งศักดิ์สิทธิ์มาคุ้มครองมาเป็นสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจ

นสพ.ประชาไทนิวส์ออนไลน์

ติดต่อโฆษณาที่ 061-939-1959